หน้าเว็บ

ประวัตินาฬิกา


ใกล้ปีใหม่แล้ว มาเรียนรู้เรื่องนาฬิกากันเถอะ....นาฬิกา แปลว่า "มะพร้าว" "สำนวนกลอน"

อุปกรณ์ ตัวเอก มีเลขด้วย
มันเดินช่วย บอกเวลา หาสับสน
จุดสนใจ ของทุกผู้ ดูทุกคน
มันเดินวน อยู่กะที่ ทั้งปีเดือน

คือเจ้าตัว "นาฬิกา" นั้นนะแหละ
ที่กระแซะ แกะกาลไก หาใครเหมือน
เป็นเทคโนฯ โชว์ทุกที มีเสียงเตือน
ติ๊กติ๊กเคลื่อน เพื่อนกาล งานเวลา
นาฬิกา ทุกที่ มีประวัติ
กว่าจะจัด ศัพท์แบบนี้ มีศึกษา
นาฬิกะ ศัพท์บาลี มีที่มา
มันแปลว่า "มะพร้าว" เรารู้ดี
แล้วเหตุใด ถึงกลายพันธุ์ นั้นน่าคิด
ขอเกลอมิตร ตามกลอนมา หาวิถี
หาประวัติ ที่มา ว่าอีกที
เรื่องนั้นมี นักปราชญ์ วาทน่าฟัง
แต่ก่อนนี้ คนโบราณ นั้นแหงนหน้า
ดูเวลา อาทิตย์หนอ จนคอตั้ง
ดูการเดิน ตะวันคล้อย เมื่อยคอจัง
จึงมานั่ง ค้นวิธี ที่สุดคม
ได้ความคิด กับกะลา หามะพร้าว
นำมาเหลา จะรู ดูการล่ม
นำไปลอย ในถังน้ำ ดูการจม
หากมันล่ม เพราะน้ำเข้า เอาเวลา
กาลต่อมา มนุษย์ สุดคิดค้น
คิดดั้นด้น หาวิธี ที่โอ่อ่า
ทำอุปกรณ์ เครื่องตรง ส่งเวลา
นาฬิกา ทุกวันนี้ จึงมีกัน
อุปกรณ์ เช่นใด ขอให้บอก
เวลานอก หรือไทย ให้สุขสันต์
เราก็เรียก อุปกรณ์ ย้อนกาลกัน
ได้มุ่งมั่น ตั้งชื่อ คือนาฬิกา
เพื่ออนุสรณ์ รำลึกถึง ซึ่งมะพร้าว
ที่ชาวเรา เคยใช้ ไว้ศึกษา
ประเทศอื่น คงไม่เรียก นาฬิกา
ก็เพราะว่า บัญญัติศัพท์ ไม่ทับกัน
มีที่มา ที่ไป คนละอย่าง
เวลากว้าง จึงแคบกลม ผสมผสาน
สัญญลักษณ์ เวลา มาช้านาน
ให้ทราบกัน ตามนี้ สุขีเทอญ...
หมายเหตุ: ปัจจุบัน"นาฬิกา" ได้ถูกพัฒนา หน้าตาเปลี่ยนไป ตามจินตนาการ หรือไอเดีย มีทั้งแบบตัวเลข และเข็ม ทั้งติดเพดาน ตั้งโต๊ะ และใส่ข้อมือฯลฯหรือ ตามรถตามอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆแล้ว แต่จะพัฒนาอย่างไร ไทยเราก็ยังเรียกมันว่า "นาฬิกา(มะพร้าว) " อยู่นั่นเอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น