นิทานธรรม คำกลอน เรื่อง”พระจักขุบาล”
..............................................
มีภิกษุ รูปหนึ่ง ซึ่งถือเคร่ง
ได้รีบเร่ง ปฏิบัติ เป็นหนักหนา
ไม่หลับนอน ตอนปฏิบัติ จิรัตติกาล์ (อ่านว่า จิรัดติกา)
ทำให้ตา บอดสองข้าง อย่างมืดมล
ได้รีบเร่ง ปฏิบัติ เป็นหนักหนา
ไม่หลับนอน ตอนปฏิบัติ จิรัตติกาล์ (อ่านว่า จิรัดติกา)
ทำให้ตา บอดสองข้าง อย่างมืดมล
ท่านได้เป็น อรหันต์ พลันตาบอด
เดินตลอด จงกรมไป ปลายหน้าฝน
แมลงเม่า เต็มพื้น ภูมิดล
แมลงเม่า เต็มพื้น ภูมิดล
เดินบินวน บนทาง กลางวนา
ท่านไม่เห็น แมลงเม่า ทางเท้านั้น
เหยียบลงพลัน สนิทใจ ไร้กังขา
แมลงเม่า ก็ตาย ใต้บาทา
อนิจจา หาใช่ ท่านไม่ยล
เวรกรรมไหน เป็นเหตุ ให้เนตรดับ
เหยียบลงพลัน สนิทใจ ไร้กังขา
แมลงเม่า ก็ตาย ใต้บาทา
อนิจจา หาใช่ ท่านไม่ยล
เวรกรรมไหน เป็นเหตุ ให้เนตรดับ
ติดมากับ ปัจจุบัน พลันให้ผล
ในอดีต ท่านเป็นหมอ รักษาคน
กรรมได้ด้น จากชาตินั้น พลันติดตาม
ในชาตินั้น ท่านเป็นหมอ รักษาตา
หญิงชรา กับลูก ทุกข์ล้นหลาม
หญิงชรา ตาเจ็บ เล่าเก็บความ
เธอได้ตาม หมอมา รักษาเธอ
เธอได้ตาม หมอมา รักษาเธอ
หญิงคนนั้น บอกว่า หากตาหาย
จะถวาย ตัวเป็นทาส บาทเสมอ
จะถวาย ตัวเป็นทาส บาทเสมอ
หมอจึงยอม เยียวยา รักษาเธอ
ข้อเสนอ ของหญิงหนอ หมอภูมิใจ
ตาของหญิง เริ่มดี เห็นสีแสง
ตาของหญิง เริ่มดี เห็นสีแสง
เธอก็แกล้ง พูดปลิ้นปล้อน ก่อนจะหาย
เพราะเธอกลัว หากตาดี นี้ต่อไป
จะต้องได้ เป็นทาสหมอ กันพอดี
จึงโกหก บอกหมอไป ไม่ไหวแล้ว
ตาเริ่มแจว มืดดับ อับแสงสี
หมอได้รู้ ว่าโกหก ผกวจี
หญิงคนนี้ พูดสับปลับ ต้องรับกรรม
หมอจึงแค้น แกล้งหยอดตา ด้วยยาพิษ
หยอดเพียงนิด ตาหญิง ไร้สิ่งห้าม
หยอดเพียงนิด ตาหญิง ไร้สิ่งห้าม
หญิงคนนั้น บอดจริง ยิ่งเป็นกรรม
เที่ยวติดตาม หมอรักษา มานานนม
ด้วยวิปาก รุนแรง ที่แกล้งหญิง
ด้วยวิปาก รุนแรง ที่แกล้งหญิง
กรรมได้วิ่ง ติดตามมา ให้สาสม
ถึงบวชพระ ปฏิบัติ หัดกมล
กรรมก็ด้น ตามติด ประชิดทัน
หากผู้ใด ใครผู้หนึ่ง ซึ่งทำกรรม
วิปากนำ ตามฆาต ไม่อาจกั้น
ดุจเรื่องนี้ ที่สาธก ถกเรื่องกรรม
จึงได้นำ มากล่าว เล่าเป็นกลอน
เป็นสำนวน การถ่ายทอด ผู้ชอบกาพย์
นำให้ทราบ กรรมจักษุ อุทาหรณ์
เป็นคติ สอนใจ เวไนย์กร
เป็นคำสอน ของจอมปราชญ์ พระศาสดา
ถึงบวชพระ ปฏิบัติ หัดกมล
กรรมก็ด้น ตามติด ประชิดทัน
หากผู้ใด ใครผู้หนึ่ง ซึ่งทำกรรม
วิปากนำ ตามฆาต ไม่อาจกั้น
ดุจเรื่องนี้ ที่สาธก ถกเรื่องกรรม
จึงได้นำ มากล่าว เล่าเป็นกลอน
เป็นสำนวน การถ่ายทอด ผู้ชอบกาพย์
นำให้ทราบ กรรมจักษุ อุทาหรณ์
เป็นคติ สอนใจ เวไนย์กร
เป็นคำสอน ของจอมปราชญ์ พระศาสดา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น