" ตายคือ..."
คำว่าตาย นั้นหรือ ก็คือติ
แล้วเอาอิ เป็นอายะ ตะผสม
ได้ความหมาย เป็นไตรลักษณ์ ประจักษ์คม
มันทรุดโทรม เปลี่ยนสลาย ให้พิศดู
ใช้ปัญญา สอดส่อง จะมองเห็น
สิ่งทั้งสาม มันซ่อนเร้น เห็นอดสู
สิ่งประจำ สังขาร ให้หมั่นดู
แล้วจะรู้ การวางใจ ได้ละวาง
ตายมี ๒ อย่าง
....................................
คำว่าตาย ของคนเรา ที่เข้าใจ
คือหลับใหล ใจขาด ไม่อาจฟื้น
วิญญาณปราศ กายทรุด ดุจท่อนฟืน
ไปภพอื่น วิญญาณลับ ไม่กลับมา
นี่คือตาย ที่เราเขา เข้าใจกัน
แต่ตายนั้น มีสอง ต้องศึกษา
ตายที่หนึ่ง เรียกว่า ปฏิจฉันนะมรณา(ตายแบบเปิดเผย)
อาสัญญา ที่เราผอง ไม่ต้องการ
คือตายเน่า ไม่ฟื้น คืนมาได้
ตายขาดใจ ไปแน่ คนแห่หาม
อันนี้เรียก ปฏิจฉันนะ- มรณาม
ทั่วเขตคาม ใครก็รู้ ดูน่ากลัว
ตายอีกแบบ ที่เรานั้น ดันไม่เห็น
ตายทั้งเป็น ที่หายใจ ไม่สลัว
ตายแบบนี้ มีค่ำเช้า เราไม่กลัว
ทุกท่วนทั่ว ให้รู้ไว้ ตายทุกวัน
ตายแบบนี้ เรียกว่า อัปปฏิจฉันนะ (ตายแบบไม่เปิดเผย)
ตายจะจะ ยิ่งร้าย ตายสุขสันต์
หายใจไป ตายไป ให้รู้กัน
เพราะทุกวัน เราเกิดดับ นับไม่พอ
ในตัวเรา มีตายเกิด เปิดสลับ
หมั่นคอยนับ ลมหมายใจ กันไว้หนอ
หากเจริญ สัมปชัญญะ สติคลอ
หมั่นยุบหนอ พองหนออยู่ จะรู้ตาย
พระพุทธเจ้าทรงให้นึกถึงความตาย
พระพุทธองค์ ทรงให้ ได้ระลึก
ตรึกตรองนึก ถึงความตาย ให้หลายครั้ง
คือเจริญ สติ วิปัสสนัง
เห็นพลัง แห่งเกิดดับ รับปัญญา
พระอานน์ ทูลถวาย ได้ระลึก
ตริตรองนึก ความตาย ในสังขาร์
ทั้งเจ็ดวัน ได้ดำริ พิจารณา
องค์พุทธา บอกว่าน้อย ยังด้อยไป
.....................................
หากคิดถึง ความตาย สบายนัก
มักหักรัก หักหลง ในสงสาร
ขจัดมืด โมหันต์ อันธกาล
ทำให้หาญ หายสะดุ้ง ไม่นุงนัง
หมั่นเจริญ สมาธิ จิตแก่กล้า
ให้ปัญญา แทงทะลุ จะสุขัง
สติพร้อม คุมเสริม เพิ่มพลัง
จะลุกยืน นั่งหนอ ก็สบาย
.....................................
อานิสงส์การพิจาณาความตาย
ผู้ที่พิจารณาความตาย จะสบายเพราะ...
เพราะจะไม่ ประมาท พลาดในวัย
จะตั้งใจ ร่ำเรียน เพียรศึกษา
เพราะว่ารู้ ชีวิตนี้ มีมรณา
ที่โอบอ้า รอเราอยู่ เป็นคู่กาย
จะไม่ได้ ประมาททุน บุญกุศล
จะเพิ่มพล ความดี ที่เฉิดฉาย
จะสั่งสม บุญญา มาสู่กาย
จะไม่ได้ เผลอไผล ใจมืดมล
จะเป็นผู้ เท็กแคร์ ดูแลจิต
ทุกนาที ชีวิตใจ ไม่สับสน
จะเป็นผู้ สง่า กว่าหลายคน
ประเสริฐล้น ความตาย ได้พิจารา
............................................
ดอกไม้พระอรหันต์
........................... อันดอกไม้ พระอรหันต์ นั้นคือศพ
ตัดชาติภพ เวียนว่าย ได้สุขสันต์
เพราะเห็นศพ เหมือนเห็นตาย ได้ผลพลัน
เพราะเกิดปัญ-ญาญาณ ท่านเห็นจริง
หากเราทำ ได้เด่น เช่นอรหันต์
คงสักวัน สักภพ ประสบหนิง
เกิดปัญญา สว่าง ทางรู้จริง
สุขแอบอิง กุศลสร้าง ทางนิพพาน
............................
บุพพกิจ บุพพกรณ์ ก่อนตาย
หากเราสามารถตั้งสติได้ ก่อนตาย จะต้อง เตรียมตัวอย่างไรดี..? ........................
กิจก่อนตาย ตั้งใจ รู้ไว้เถิด
ตายจะเกิด กับเราเขา เข้าสุสาน
ต้องเตรียมใจ ไว้ย้อน ก่อนถึงวัน
เพราะฉะนั้น เตรียมกายใจ ไว้ดังนี้
อันที่หนึ่ง ละห่วงนอก จะบอกให้
ทำจิตใจ ให้สว่าง สร้างวิถี
จงสละ ความติดยึด ประพฤติดี
อันใดมี ที่ทำให้ ใจหมองมัว
เช่นเรือกสวน ไร่นาหนอง พ้องลูกหลาน
จะสละ ทุกด้าน กันสลัว
คุมสติ ให้เจิดจ้า จงอย่ากลัว
อย่าเมามัว ติดทรัพย์สิน ก่อนสิ้นใจ
อันที่สอง ต้องสละ ในสังขาร์
ทิ้งกายา ตัดบ่วง อย่าหน่วงไว้
ให้คิดว่า ธรรมดา ต้องลาไป
อย่าห่วงใย ทั้งกายจิต พินิจดู
อันที่สาม ตามติด ให้คิดย้อน
ถึงกาลก่อน ตอนทำบุญ ทุ่มทุนสู้
คิดถึงทาน ถึงศีล ถิ่นเฟื่องฟู
ให้ใจรู้ เรื่องกุศล พ้นภัยพาน
หากทำย้อน ก่อนตาย ได้เช่นนี้
จิตจะมี แต่สุข สนุกสนาน
จะไปดี สู่ปรโลก ไม่โศกกันต์
จะชื่นบาน มีคติ ที่สวยงาม
.......................................
ความตาย ในอีกความหมายหนึ่งคือ....ผู้ที่ไม่ประมาท ชื่อว่าผู้ไม่ตาย
.......................
ผู้ตั้งใจ ไม่ประมาท ประกาศชัด
ผู้ฝึกหัด ฝึกสติ มิเผลอไผล
ผู้ดำริ พิจารณา สังขารนัย
ผู้ตั้งใจ ลดเลิกละ ประพฤติธรรม
นี่นะแหละ จงรู้ ผู้ไม่ตาย
ความดีได้ ตามพจนะ ของพระสัมม์
ไม่ตายจาก ความดี ที่ได้ทำ
ชีวิตงาม ธรรมค้ำจุน อุ่นสบาย
......................................ความตายในอีกความหมายหนึ่งคือ...ผู้ประมาท ชื่อว่า ผู้ตายแล้ว
หากผู้ที่ ยังประมาท พลาดพลั้งผิด
ไม่ได้คิด ก่อทุน บุญกุศล
ปล่อยชีวิต กับกาลเวลา พามืดมล
หนีไม่พ้น ห่างหาย ตายจากดี
.......................................... พระไตรลักษณ์ อุปัตติ ที่เกิดขึ้น
อย่าไปฝืน ต้องรับรู้ เป็นครูใหญ่
อุปาทะ ตั้งอยู่ แล้วดับไป
ต้องเข้าใจ สติดู รู้เท่าทัน
อย่าไปยึด ไปติด จิตฝังผูก
ถึงจะทุกข์ อย่าตีโผย หรือโหยหัน
หากมีสุข อย่าลิงโลด โปรดรู้กัน
เพราะสักวัน มันก็ไป ให้รูตาม
...................................... ลักษณะของสังขาร
อุปาทะ เกิดขึ้น ทุกคืนค่ำ
ฐิตินำ ตั้งอยู่ เหมือนภูผา
ภังคะดับ แตกสลาย ในโลกา
พิจารณา ให้แยบคาย ไม่คงทน
อันนี้แหละ ลักษณะ ของสังขาร
เมื่อวันวาน ยังสดใส ไม่สับสน
เพราะมันตั้ง ในวิถี ฐิติดล
กาลเลยพ้น จึงโรยร่วง ไม่ห่วงเรา
เราเป็นเพียง ผู้รู้ ดูเกิดดับ
หมั่นคอยนับ พองยุบ หยุดความเหงา
รู้แตกดับ ไม่เที่ยง เหมือนเพียงเงา
เกาะกุมเข้า แล้วแตกไป ไม่จีรัง
..........................................พิจารณาสังขารดุจฟองน้ำ
จงดูเหมือน ฟองน้ำ ยามฟองฟู่
เหมือนดังภู ดูสง่า เหมือนผาหิน
แต่สักครู่ ภูผานั้น ดันพังภินท์
รูปกลับกลาย สลายสิ้น กลับภินท์พัง
สังขารเรา จงเห็น เป็นเช่นนั้น
ก็เหมือนกัน กับฟองน้ำ ยามกุมขัง
ก่อเกิดขึ้น สักพัก ก็หักพัง
ไม่จีรัง สังขาร ไม่ทานทน
.........................................พิจารณาสังขารดุจพยับแดด
ดูชีวิต ให้เหมือนกับ พะยับแดด
ยามร้อนแผด ก่อตัวเด่น เป็นสังขาร
แต่สักพัก สลายไป ไม่อยู่นาน
ปัญญาญาณ เห็นเช่นนี้ มีสุขจริง
....................................................
"อนิจจา วะตะ สังขารา อุปปาทะวะยะธัมมิโน
อุปปัชชิตะวา นิรุชชันติ เตสัง วูปสโม สุโข"
แปลรวมความว่า
อนิจจา สังขาร ไม่เที่ยงหนอ
มีเกิดก่อ พังยุบ บุบสลาย
ครั้นเกิดแล้ว ไม่จีรัง พังทะลาย
การเข้าไป ดับสังขาร พานสุขจริง
.......................................
อะจิรัง วะตะ ยัง กาโย ปะฐะวิง อะธิเสสะติ
ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโณ นิรัตถัง วะ กะริงคะรัง
แปลรวมความว่า
ไม่นานหนอ กายนี้ จะนอนนิ่ง
กายจะทิ้ง ตนลงแคร่ นอนแผ่หรา
บนกองซาก กากดิน ถิ่นพสุธา
ปราศวิญญาณ์ ดุจท่อนไม้ ไร้คนมอง
........................................
คำว่าตาย นั้นหรือ ก็คือติ
แล้วเอาอิ เป็นอายะ ตะผสม
ได้ความหมาย เป็นไตรลักษณ์ ประจักษ์คม
มันทรุดโทรม เปลี่ยนสลาย ให้พิศดู
ใช้ปัญญา สอดส่อง จะมองเห็น
สิ่งทั้งสาม มันซ่อนเร้น เห็นอดสู
สิ่งประจำ สังขาร ให้หมั่นดู
แล้วจะรู้ การวางใจ ได้ละวาง
ตายมี ๒ อย่าง
....................................
คำว่าตาย ของคนเรา ที่เข้าใจ
คือหลับใหล ใจขาด ไม่อาจฟื้น
วิญญาณปราศ กายทรุด ดุจท่อนฟืน
ไปภพอื่น วิญญาณลับ ไม่กลับมา
นี่คือตาย ที่เราเขา เข้าใจกัน
แต่ตายนั้น มีสอง ต้องศึกษา
ตายที่หนึ่ง เรียกว่า ปฏิจฉันนะมรณา(ตายแบบเปิดเผย)
อาสัญญา ที่เราผอง ไม่ต้องการ
คือตายเน่า ไม่ฟื้น คืนมาได้
ตายขาดใจ ไปแน่ คนแห่หาม
อันนี้เรียก ปฏิจฉันนะ- มรณาม
ทั่วเขตคาม ใครก็รู้ ดูน่ากลัว
ตายอีกแบบ ที่เรานั้น ดันไม่เห็น
ตายทั้งเป็น ที่หายใจ ไม่สลัว
ตายแบบนี้ มีค่ำเช้า เราไม่กลัว
ทุกท่วนทั่ว ให้รู้ไว้ ตายทุกวัน
ตายแบบนี้ เรียกว่า อัปปฏิจฉันนะ (ตายแบบไม่เปิดเผย)
ตายจะจะ ยิ่งร้าย ตายสุขสันต์
หายใจไป ตายไป ให้รู้กัน
เพราะทุกวัน เราเกิดดับ นับไม่พอ
ในตัวเรา มีตายเกิด เปิดสลับ
หมั่นคอยนับ ลมหมายใจ กันไว้หนอ
หากเจริญ สัมปชัญญะ สติคลอ
หมั่นยุบหนอ พองหนออยู่ จะรู้ตาย
พระพุทธเจ้าทรงให้นึกถึงความตาย
พระพุทธองค์ ทรงให้ ได้ระลึก
ตรึกตรองนึก ถึงความตาย ให้หลายครั้ง
คือเจริญ สติ วิปัสสนัง
เห็นพลัง แห่งเกิดดับ รับปัญญา
พระอานน์ ทูลถวาย ได้ระลึก
ตริตรองนึก ความตาย ในสังขาร์
ทั้งเจ็ดวัน ได้ดำริ พิจารณา
องค์พุทธา บอกว่าน้อย ยังด้อยไป
.....................................
หากคิดถึง ความตาย สบายนัก
มักหักรัก หักหลง ในสงสาร
ขจัดมืด โมหันต์ อันธกาล
ทำให้หาญ หายสะดุ้ง ไม่นุงนัง
หมั่นเจริญ สมาธิ จิตแก่กล้า
ให้ปัญญา แทงทะลุ จะสุขัง
สติพร้อม คุมเสริม เพิ่มพลัง
จะลุกยืน นั่งหนอ ก็สบาย
.....................................
อานิสงส์การพิจาณาความตาย
ผู้ที่พิจารณาความตาย จะสบายเพราะ...
เพราะจะไม่ ประมาท พลาดในวัย
จะตั้งใจ ร่ำเรียน เพียรศึกษา
เพราะว่ารู้ ชีวิตนี้ มีมรณา
ที่โอบอ้า รอเราอยู่ เป็นคู่กาย
จะไม่ได้ ประมาททุน บุญกุศล
จะเพิ่มพล ความดี ที่เฉิดฉาย
จะสั่งสม บุญญา มาสู่กาย
จะไม่ได้ เผลอไผล ใจมืดมล
จะเป็นผู้ เท็กแคร์ ดูแลจิต
ทุกนาที ชีวิตใจ ไม่สับสน
จะเป็นผู้ สง่า กว่าหลายคน
ประเสริฐล้น ความตาย ได้พิจารา
............................................
ดอกไม้พระอรหันต์
........................... อันดอกไม้ พระอรหันต์ นั้นคือศพ
ตัดชาติภพ เวียนว่าย ได้สุขสันต์
เพราะเห็นศพ เหมือนเห็นตาย ได้ผลพลัน
เพราะเกิดปัญ-ญาญาณ ท่านเห็นจริง
หากเราทำ ได้เด่น เช่นอรหันต์
คงสักวัน สักภพ ประสบหนิง
เกิดปัญญา สว่าง ทางรู้จริง
สุขแอบอิง กุศลสร้าง ทางนิพพาน
............................
บุพพกิจ บุพพกรณ์ ก่อนตาย
หากเราสามารถตั้งสติได้ ก่อนตาย จะต้อง เตรียมตัวอย่างไรดี..? ........................
กิจก่อนตาย ตั้งใจ รู้ไว้เถิด
ตายจะเกิด กับเราเขา เข้าสุสาน
ต้องเตรียมใจ ไว้ย้อน ก่อนถึงวัน
เพราะฉะนั้น เตรียมกายใจ ไว้ดังนี้
อันที่หนึ่ง ละห่วงนอก จะบอกให้
ทำจิตใจ ให้สว่าง สร้างวิถี
จงสละ ความติดยึด ประพฤติดี
อันใดมี ที่ทำให้ ใจหมองมัว
เช่นเรือกสวน ไร่นาหนอง พ้องลูกหลาน
จะสละ ทุกด้าน กันสลัว
คุมสติ ให้เจิดจ้า จงอย่ากลัว
อย่าเมามัว ติดทรัพย์สิน ก่อนสิ้นใจ
อันที่สอง ต้องสละ ในสังขาร์
ทิ้งกายา ตัดบ่วง อย่าหน่วงไว้
ให้คิดว่า ธรรมดา ต้องลาไป
อย่าห่วงใย ทั้งกายจิต พินิจดู
อันที่สาม ตามติด ให้คิดย้อน
ถึงกาลก่อน ตอนทำบุญ ทุ่มทุนสู้
คิดถึงทาน ถึงศีล ถิ่นเฟื่องฟู
ให้ใจรู้ เรื่องกุศล พ้นภัยพาน
หากทำย้อน ก่อนตาย ได้เช่นนี้
จิตจะมี แต่สุข สนุกสนาน
จะไปดี สู่ปรโลก ไม่โศกกันต์
จะชื่นบาน มีคติ ที่สวยงาม
.......................................
ความตาย ในอีกความหมายหนึ่งคือ....ผู้ที่ไม่ประมาท ชื่อว่าผู้ไม่ตาย
.......................
ผู้ตั้งใจ ไม่ประมาท ประกาศชัด
ผู้ฝึกหัด ฝึกสติ มิเผลอไผล
ผู้ดำริ พิจารณา สังขารนัย
ผู้ตั้งใจ ลดเลิกละ ประพฤติธรรม
นี่นะแหละ จงรู้ ผู้ไม่ตาย
ความดีได้ ตามพจนะ ของพระสัมม์
ไม่ตายจาก ความดี ที่ได้ทำ
ชีวิตงาม ธรรมค้ำจุน อุ่นสบาย
......................................ความตายในอีกความหมายหนึ่งคือ...ผู้ประมาท ชื่อว่า ผู้ตายแล้ว
หากผู้ที่ ยังประมาท พลาดพลั้งผิด
ไม่ได้คิด ก่อทุน บุญกุศล
ปล่อยชีวิต กับกาลเวลา พามืดมล
หนีไม่พ้น ห่างหาย ตายจากดี
.......................................... พระไตรลักษณ์ อุปัตติ ที่เกิดขึ้น
อย่าไปฝืน ต้องรับรู้ เป็นครูใหญ่
อุปาทะ ตั้งอยู่ แล้วดับไป
ต้องเข้าใจ สติดู รู้เท่าทัน
อย่าไปยึด ไปติด จิตฝังผูก
ถึงจะทุกข์ อย่าตีโผย หรือโหยหัน
หากมีสุข อย่าลิงโลด โปรดรู้กัน
เพราะสักวัน มันก็ไป ให้รูตาม
...................................... ลักษณะของสังขาร
อุปาทะ เกิดขึ้น ทุกคืนค่ำ
ฐิตินำ ตั้งอยู่ เหมือนภูผา
ภังคะดับ แตกสลาย ในโลกา
พิจารณา ให้แยบคาย ไม่คงทน
อันนี้แหละ ลักษณะ ของสังขาร
เมื่อวันวาน ยังสดใส ไม่สับสน
เพราะมันตั้ง ในวิถี ฐิติดล
กาลเลยพ้น จึงโรยร่วง ไม่ห่วงเรา
เราเป็นเพียง ผู้รู้ ดูเกิดดับ
หมั่นคอยนับ พองยุบ หยุดความเหงา
รู้แตกดับ ไม่เที่ยง เหมือนเพียงเงา
เกาะกุมเข้า แล้วแตกไป ไม่จีรัง
..........................................พิจารณาสังขารดุจฟองน้ำ
จงดูเหมือน ฟองน้ำ ยามฟองฟู่
เหมือนดังภู ดูสง่า เหมือนผาหิน
แต่สักครู่ ภูผานั้น ดันพังภินท์
รูปกลับกลาย สลายสิ้น กลับภินท์พัง
สังขารเรา จงเห็น เป็นเช่นนั้น
ก็เหมือนกัน กับฟองน้ำ ยามกุมขัง
ก่อเกิดขึ้น สักพัก ก็หักพัง
ไม่จีรัง สังขาร ไม่ทานทน
.........................................พิจารณาสังขารดุจพยับแดด
ดูชีวิต ให้เหมือนกับ พะยับแดด
ยามร้อนแผด ก่อตัวเด่น เป็นสังขาร
แต่สักพัก สลายไป ไม่อยู่นาน
ปัญญาญาณ เห็นเช่นนี้ มีสุขจริง
....................................................
"อนิจจา วะตะ สังขารา อุปปาทะวะยะธัมมิโน
อุปปัชชิตะวา นิรุชชันติ เตสัง วูปสโม สุโข"
แปลรวมความว่า
อนิจจา สังขาร ไม่เที่ยงหนอ
มีเกิดก่อ พังยุบ บุบสลาย
ครั้นเกิดแล้ว ไม่จีรัง พังทะลาย
การเข้าไป ดับสังขาร พานสุขจริง
.......................................
อะจิรัง วะตะ ยัง กาโย ปะฐะวิง อะธิเสสะติ
ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโณ นิรัตถัง วะ กะริงคะรัง
แปลรวมความว่า
ไม่นานหนอ กายนี้ จะนอนนิ่ง
กายจะทิ้ง ตนลงแคร่ นอนแผ่หรา
บนกองซาก กากดิน ถิ่นพสุธา
ปราศวิญญาณ์ ดุจท่อนไม้ ไร้คนมอง
........................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น